รายละเอียดสินค้า
Aroma Massage Oil
ราคา 245.00 บาท

สั่งซื้อ

อะโรม่า มาสสาจ ออยล์ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรพื้นบ้านชนิดสเปรย์พ่น

ลักษณะเด่นและคุณสมบัติการใช้งานของนวัตกรรม

การนำพืชสมุนไพรพื้นถิ่น ต.แม่มอก อ.เถิน จ.ลำปาง ได้แก่ ผักกาดน้ำ (หรือ หญ้าเอ็นยืด) ไพลเหลือง (หรือ ปูเลย) มาสกัดน้ำมันด้วยเทคนิคการทอดในน้ำมันมะพร้าว ได้สารสำคัญของสมุนไพร นำมาพัฒนาสูตรต้นแบบเพื่อให้เป็น Aroma Massage Oil ด้วยผู้เชี่ยวชาญและการผลิตด้วยมาตรฐานสากล Asean Cosmetic GMP สร้างจุดเด่นและเอกลักษณ์ผลิตภัณฑ์ ดึงจุดของกลิ่นหอมสมุนไพรท้องถิ่น ทำให้ผลิตภัณฑ์ได้กลิ่นหอมจากสมุนไพร 100% รู้สึกสดชื่น (refreshment)  สงบ ผ่อนและคลายลดความเครียดจากการ ใช้งานได้สะดวก ใช้ทาหรือนวดลงบนผิว นอกจากรู้สึกสดชื่นแล้วผลิตภัณฑ์ยังบำรุงผิวกาย เพราะมีสมุนไพรมีส่วนผสมที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นร่วมด้วย เหมาะสมกับธุรกิจ Spa wellness และ ธุรกิจผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง ที่เป็นธุรกิจท้องถิ่นของตำบลแม่มอก หากชุมชนมีความพร้อมด้านกายภาพหรือโครงสร้างก็สามารถนำสูตรหรือเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปดำเนินการผลิตได้ด้วยชุมชนเอง ผ่านการควบคุมคุณภาพโดย วว. และ มรภ. ลำปาง

 

การนำไปใช้ประโยชน์

การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรถิ่น พืชสมุนไพรพื้นถิ่นจากชุมชน ต.แม่มอก อ.เถิน จ.ลำปาง ได้แก่ หญ้าเอ็นยืด (หรือ ผักกาดน้ำ) ไพลเหลือง (หรือ ปูเลย) ผนวกกับมรดกองค์ความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านหมอเมืองแม่มอก ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดรักษาบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อีกทั้งมีการยกระดับการรวมกลุ่มภาคประชาชนเกิดเป็น สหกรณ์การเกษตรสมุนไพรตำบลแม่มอก จำกัด ผู้ผลิตและแปรรูปยาสมุนไพรพื้นบ้าน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถเสริมสร้างรายได้ให้กับกลุ่มมเป้าหมายในระบบการผลิตทั้งผู้ปลูก และผู้ผลิต รวมถึงผู้จำหน่ายร่วมด้วย นับเป็นการส่งเสริมการพึ่งพาตนเองด้านเศรษฐกิจฐานรากและสุขภาพประชาชนไปพร้อมกัน ตลอดจนการดำเนินงานในครั้งนี้ก็จะเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ของพื้นที่ร่วมด้วย พื้นที่ตำบลแม่มอกมีความโดดเด่นจากความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ป่าชุมชนอันอุดมสมบูรณ์ (ป่าล้อมคน) จึงสร้างข้อได้เปรียบให้กับทรัพยากรหรือสมุนไพรของพื้นที่แม่มอกเป็นอย่างมาก จึงนำข้อได้เปรียบดังกล่าวมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานรากเพื่อแก้ปัญหาคามยากจนในพื้นที่ โดยการเพิ่มมูลค่าสมุนไพรเพื่อสร้างรายได้ ผ่านระบบการผลิตให้มีมาตรฐาน เสริมช่องทางการตลาดและการจัดหน่าย ผ่านการบูรณาการร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานท้องถิ่นและภาคประชาชนรวมทั้งเอกชน สร้างเป็นอาชีพหรือธุรกิจท้องถิ่น นำรายได้คืนกลับมาพื้นที่ พัฒนาเป็นทุนหรือเป็นภูมิคุ้มกันด้านเศรษฐกิจและสังคมของผู้เปราะบางเป้าหมายของพื้นที่แม่มอกต่อไป